fbpx
logotype

ตอบทุกคำถาม Advanced Placement (AP) คืออะไร?

ตอบทุกคำถาม Advanced Placement (AP) คืออะไร?

ตอบทุกคำถาม Advanced Placement - AP - คืออะไร - ignite A Star - Bigcover1

         สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน กลับมาพบกับพี่ๆ Ignite A* อีกครั้ง การเลือกหลักสูตรการศึกษาในระดับชั้นมัธยมปลายถือเป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลต่อการเข้ามหาวิทยาลัยในฝันมากจริงๆ วันนี้พี่ๆ เลยจะขอมาตอบคำถามสุดกวนใจสำหรับน้องอินเตอร์ที่เริ่มจะเข้าสู่ช่วงมัธยม หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของหลักสูตร IB และ A-Level กันมาบ้างแล้ว แต่อีกหลักสูตรทางเลือกหนึ่งที่เริ่มจะได้ยินชื่อกันบ่อยๆ ก็คือ หลักสูตร AP หรือ Advanced Placement นั่นเอง

         ในบล็อกนี้พี่ๆ เลยจะขอมาเล่าหมดเปลือกว่าเจ้าหลักสูตร Advanced Placement หรือ AP คืออะไร กันแน่ และใช้ทำอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นความรู้ประกอบกับการตัดสินใจของน้องๆ

เรามาเริ่มกันที่ข้อมูลเบสิคในเรื่องของภาพรวมหลักสูตรกันเลยดีกว่า ก่อนที่จะเจาะลึกถึงข้อมูลการเรียนในหลักสูตรนี้

หลักสูตร AP (Advanced Placement) คืออะไร?

หลักสูตร AP คืออะไร - ignite A Star - Bigcover2

         Advanced Placement Program หรือ AP คือ หลักสูตรการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกจัดทำโดย College Board หรือหน่วยงานที่จัดสอบ SAT นั่นเอง โดยหลักสูตรนี้ถือเป็นโครงการเรียนล่วงหน้าสำหรับน้องๆมัธยมปลาย และมักจะพบบ่อยๆในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันซึ่งมีการเปิดวิชา AP ให้เด็กๆ เลือกเรียน

เนื่องจากเนื้อหาวิชา AP นั้นจะสอนเข้มข้นมากๆ และอาจเป็นตัวเนื้อหาที่น้องๆจะต้องเจอในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นหากน้องๆ เลือกเรียนวิชา AP เสริมจากการเรียนในหลักสูตรปกติและได้คะแนนดี ก็อาจจะสามารถนำผลคะแนนไปแลกเป็นเครดิตวิชานั้นๆ ในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อลดจำนวนวิชาเรียนได้อีกด้วย

นอกจากนี้น้องๆ สามารถเริ่มสอบ AP ได้ตั้งแต่ Grade 9 เลย อย่างไรก็ตามด้วยเนื้อหาที่ค่อนข้างยาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสอบมักจะเป็นช่วง Grade 11-12 และหากน้องๆ ไม่ได้เรียน AP ในโรงเรียนก็หมดกังวลได้เลย เพราะผู้เข้าสอบไม่จำเป็นต้องเรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกัน บุคคลภายนอกก็สามารถเข้าสอบได้เช่นกัน เพียงแต่น้องๆที่มีโอกาสเรียน AP ในโรงเรียนอาจจะได้เปรียบมากกว่าในเรื่องของความคุ้นเคยของเนื้อหาและการจัดเวลาทบทวน

         แต่พี่ๆ ignite A* ขอบอกตรงนี้ก่อนนะครับว่า AP นั้นไม่ใช่วุฒิการศึกษาเหมือนกับ IB หรือ A-Level นะครับ แต่เป็นเพียงทางลัดในการเข้ามหาวิทยาลัยและการสะสมหน่วยกิตให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง

ในหลักสูตร AP เลือกเรียนอะไรได้บ้าง?

AP มีวิชาอะไรให้เลือกบ้าง - ignite A Star - Bigcover3

         หลักสูตร AP นั้น น้องๆ สามารถเลือกวิชาเรียนและจำนวนวิชาตามที่น้องๆ สนใจได้ โดยในตัวหลักสูตรจะถูกแบ่งออกเป็น 7 หมวดวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย 37 วิชาย่อย ดังนี้

  1. AP Capstone เช่น AP Research, AP Seminar (หมวดวิชานี้จะเน้นการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัย ทั้งแบบเดี่ยวเเละกลุ่ม)
  2. AP Arts เช่น Art History, Music Theory
  3. AP English เช่น Language & Composition, Literature & Composition
  4. AP History & Social Sciences เช่น Human Geography, Micro/Macroeconomics, World History
  5. Math & Computer Science เช่น Calculus AB/BC, Computer Science, Statistics
  6. Sciences เช่น Biology, Chemistry, Physics
  7. World Languages เช่น Chinese Language & Culture และ Latin

         ด้วยความที่ AP นั้นมีช้อยส์ ในการเรียนให้เราเลือกเยอะแยะไปหมด และแต่ละตัวนั้นอาจเรียนลึกไปถึงเนื้อหาที่น้องจะเจอในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นมักจะเกิดคำถามขึ้นบ่อยๆ ว่า “แล้วเราควรจะเลือกเรียนตัวไหน?”

ควรเลือกเรียน AP วิชาไหน และมีเกณฑ์ในการให้คะแนนยังไง?

         ก่อนที่น้องๆ จะตัดสินใจเลือกวิชาเรียน เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าตัว AP นั้นมีการให้คะแนนอย่างไร?

ในการสอบของแต่ละวิชาในหลักสูตร AP นั้นมักจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Multiple Choice และ Written Answer มีเวลาเฉลี่ยในการทำข้อสอบอยู่ที่ 2-3 ชั่วโมงต่อวิชา โดยรูปแบบการออกข้อสอบของแต่ละวิชาอาจแตกต่างกันตามเนื้อหาและรอบสอบในแต่ละปี

ข้อสอบ AP เป็นอย่างไร ยากหรือไม่ - ignite A Star - Bigcover5

         พี่ๆ ignite A* เลยขอรวบรวมตัวอย่างลักษณะข้อสอบของวิชาท็อปฮิตหลักสูตร AP มาให้ดูกัน จะสังเกตได้ว่าในวิชาส่วนใหญ่จะมีการแบ่งข้อสอบเป็น 2 Sections คือ Multiple Choices และ Free Response (การเขียนตอบ) โดยมักจะให้น้ำหนักของคะแนนเป็น 50%-50% ดังนั้นเรียกได้ว่าน้องๆ ต้องโฟกัสการทำข้อสอบทั้งสองส่วนเลยทีเดียว

หากเรามาดูกันที่ข้อสอบวิชาสาย Humanities & Social Sciences จะพบว่าใน Section: Free Response จะมีความเป็น Essay-Based มากกว่า พูดง่ายๆก็คืออาจจะต้องเขียนตอบบรรยายแบบยาวกว่า เมื่อเทียบกับวิชาในหมวดเลขและวิทยาศาสตร์ เนื่องจากน้องๆจะต้องนำ Theory ที่เรียนมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ เช่น วิชา Micro/Macroeconomics, Psychology, Comparative Government & Politics

เกณฑ์การให้คะแนน AP

คะแนนที่น้องจะได้รับจะอยู่ในรูปแบบตัวเลข 1-5 ซึ่งแต่ละเลขนั้นจะมีความหมายดังนี้:

5 – Extremely Well Qualified
4 – Well Qualified
3 – Qualified
2 – Possibly Qualified
1 – No recommendation

โดยคำตอบส่วน Multiple Choice ของน้องๆ นั้นจะถูกตรวจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะที่คำตอบ Free Response จะถูกตรวจโดยครูหรือคณาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งสอนวิชา AP หรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และได้มีการคัดค่ามาตรฐานของคะแนนเทียบกับค่าเฉลี่ยในแต่ละรอบ

เกณฑ์การให้คะแนน AP - เอาไปทำอะไรได้บ้าง - ignite A Star - Bigcover4

คะแนน AP สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?

         หลักๆ แล้วคะแนนของน้องๆ จะสามารถนำไปใช้ได้ 2 รูปแบบคือนำไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยและนำไปแลกเครดิตของวิชาในมหาวิทยาลัย

สำหรับการนำคะแนน AP ยื่นสมัครระดับอุดมศึกษานั้น มักจะเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา แคนาดาหรืออังกฤษก็ตาม ด้วยความที่ฝั่ง US นั้นเป็นโซนที่จัดตั้งหลักสูตร AP ขึ้นมา ดังนั้นเกณฑ์การรับสมัครมักจะให้เลเวลของวิชา AP และคะแนนที่น้องๆ ต้องมีอย่างชัดเจนในการยื่น

         อย่างไรก็ตามในฝั่งของอังกฤษนั้นอาจใช้คะแนน A-Level แปลงเป็นผล AP และมีการแปลงคะแนนแตกต่างกันไปในเเต่ละมหาวิทยาลัย เช่น หากน้องต้องการยื่นเข้า Oxford University สาขา Physics เกณฑ์การรับสมัครคือน้องๆ ต้องได้ A*A*A* ใน A-Level (โดยต้องประกอบด้วยวิชา Math & Physics) เมื่อทราบเกณฑ์นี้แล้วน้องๆ ต้องมาดูการเเปลงคะแนน โดยสำหรับ Oxford นั้น A*A*A* จะเทียบเท่ากับการยื่นคะแนน AP ทั้งหมด 4 วิชา และทุกวิชาต้องได้คะแนนเต็ม 5 นอกจากนี้น้องๆต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วยว่าวิชา A-Level Maths & Physics สามารถใช้วิชาใดใน AP ยื่นแทนได้บ้าง?


Tips ในการเลือกวิชา

  • เลือกเรียนวิชาที่ตรงกับเกณฑ์การรับสมัครของคณะและมหาวิทยาลัยนั้นๆ เช็ค Admission Requirement ให้แน่ชัด เพื่อจะได้มั่นใจว่าวิชาที่ลงแรงเรียนนั้นจะได้ใช้จริงๆ
  • หากต้องการยื่นมหาวิทยาลัยใน UK น้องๆ ควรลิสต์มหาวิทยาลัยที่จะยื่นทั้งหมด ลองแปลงการคิดคะแนน และพยายามคว้าคะแนน AP สูงสุดจาก requirement
  • เช็ค Acceleration Credit (เกณฑ์การแลกเครดิตจากผลคะแนนวิชา AP) ของคณะที่ต้องการยื่นสมัคร เพื่อทำคะแนน AP ให้ตรงตามเป้าหมายและลดจำนวนวิชาเรียนที่ต้องเจอในชั้นปี 1-2

*แต่อย่างไรก็ตามการใช้คะแนน AP ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมนัก หากน้องๆ ต้องการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ในไทยด้วย อาจต้องเช็ค Requirement กันดีๆ นะครับ

การสอบ AP สมัครอย่างไร?

เตรียมตัว AP - จะสอบ AP ต้องทำอย่างไร - ignite A Star - Bigcover6

         การสอบ Advanced Placement หรือ AP นั้นจะจัดขึ้น 1 รอบต่อปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม น้องๆ สามารถเช็คข้อมูลและตารางการจัดสอบได้ที่ http://apcentral.collegeboard.org โดยทาง College Board มักจะเริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าสอบในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนของปีก่อนหน้า และจะมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ 123 USD

สำหรับการสอบในประเทศไทยนั้นจะจัด ณ ศูนย์สอบโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนหลักสูตร AP แต่อย่างไรก็ตาม บางศูนย์สอบอาจรับผู้สมัครที่เป็น Private Candidate หรือบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันนั่นเอง

การเรียน AP จำเป็นแค่ไหน?

         การเรียนวิชา AP ไม่ใช่หลักสูตรบังคับ แต่หากน้องๆ มีโอกาสลงเรียนหลักสูตรนี้ก็ถือว่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวและช่วยปูพื้นฐานในการเรียนขั้นสูง

พี่ๆ ignite A* ขอแนะนำให้น้องๆ พยายามคว้าแต้มให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเนื้อหาของ AP นั้นยากและต้องใช้ความตั้งใจในการเรียนสูง ดังนั้นหากน้องคว้าคะแนนได้ดีและแลกเครดิตมหาวิทยาลัยได้ จะช่วยผ่อนเบางานและการสอบ รวมถึงค่าหน่วยกิตที่ต้องเจอในช่วงมหาวิทยาลัย เรียกว่าคุ้มเหนื่อยแน่ๆ

         หากน้องๆ หรือผู้ปกครองท่านไหนมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกหลักสูตรการเรียน สามารถทักไลน์พี่ๆ Ignite A* มาได้ที่ Line: @igniteastar หรือคลิก https://bit.ly/3hhgXoD

ทีมงานพร้อมช่วยน้องๆ วางแผนการเรียนและตอบทุกข้อสงสัยในการเรียนต่อในหลักสูตรอินเตอร์ ได้อย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *