สวัสดีครับว่าที่น้อง ๆ หมอทุกคน! วันนี้พี่แอดมิน ignite A* พาน้อง ๆ ที่สอบติด แพทย์รอบพอร์ต ปีล่าสุด จาก โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี หรือ Ruamrudee International School Bangkok (RIS) มาพูดคุยเกี่ยวกับ Journey เส้นทางการเป็นหมอ ตั้งแต่การเตรียมตัว สอบเก็บคะแนน การทำ Portfolio แพทย์ ไปจนถึงการสัมภาษณ์ (MMI) เพื่อให้น้องๆ ว่าที่หมอได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง และสามารถเตรียมตัวเข้าแพทย์รอบ 1 ได้อย่างมั่นใจกันนะครับ
น้อง ๆ และผู้ปกครองหลายท่านมักเข้าใจผิดว่า เด็กอินเตอร์มีโอกาสสอบติดหมอในมหาวิทยาลัยไทย น้อยกว่าเด็กภาคไทย ทาง ignite A* ขอบอกเลยว่าไม่จริง! เพราะน้อง ๆ RIS ที่เรียนกับเรา สอบติดทั้งแพทย์รอบพอร์ต กว่า 10 คน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์จุฬาฯ, แพทย์รามา, แพทย์จุฬาภรณ์ (PCCMS UCL), แพทย์อินเตอร์ มธ. (CICM) หรือทันตะอินเตอร์มหิดล (MIDS), ทันตะจุฬาฯ และอื่นๆ วันนี้เราจึงขอนำเสนอน้อง RIS ตัวตึง! ทั้งหมด 6 คนมาเป็นตัวแทนเด็กอินเตอร์แก๊งหมอ มาเล่าเรื่องราวดีๆ ในบทความนี้นะครับ
ทำความรู้จักกับน้อง ๆ RIS ที่สอบติดรอบ Portfolio แพทย์ ยกทีม!
- แซนดี้ : สวัสดีค่ะ แซนดี้นะคะ สอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ (PCCMS UCL) และได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ที่แพทย์อินเตอร์ มธ. (CICM) มาด้วยค่ะน
- แบมแบม : แบมแบม สอบติดแพทย์รามาแต่ติดรอบสัมภาษณ์ของ ทันตะจุฬาฯ ทันตะอินเตอร์ มหิดล (MIDS) และก็แพทย์อินเตอร์ มธ.ค่ะ
- แมจิก : แมจิกครับ สอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ แล้วก็ได้ไปสัมภาษณ์แพทย์อินเตอร์ มธ.กับทันตะอินเตอร์ มหิดลมาด้วยครับ
- เจนนี่ : เจนนี่สอบติดแพทย์จุฬาฯนะคะ ติดรายชื่อสัมภาษณ์แพทย์รามาและได้ไปสัมภาษณ์แพทย์อินเตอร์ มธ.กับแพทย์รังสิตมาค่ะ
- แพน : แพนครับ สอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ ได้ไปสัมภาษณ์แพทย์อินเตอร์ มธ.กับทันตะอินเตอร์ มหิดล รวมถึงยังได้ไปสัมภาษณ์วิศวะอินเตอร์จุฬาฯ (ISE) มาด้วยครับ
- ยูมิ : ยูมิสอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ค่ะ แต่ก็ได้ไปสัมภาษณ์ทันตะอินเตอร์ มหิดลและก็แพทย์อินเตอร์ มธ.ค่ะ
เล่าให้ฟังหน่อยครับ อะไรทำให้น้องๆ RIS สนใจในเส้นทางการเป็นหมอ อยากเข้าแพทย์รอบพอร์ต
- เจนนี่ : หนูอยากเป็นหมอ เพราะคุณแม่เป็นหมอค่ะ เราได้ตามแม่ไปทำงานตั้งแต่เด็กๆแล้ว ชีวิตคลุกคลีอยู่ที่โรงพยาบาลมานานมาก เราเลยได้เห็นภาพของการเป็นหมอมาตั้งแต่เด็กค่ะ เห็นการทำงานของคุณแม่ทุกๆวันเราก็รู้สึกชอบ
- ยูมิ : เริ่มอยากเป็นแพทย์ตอนที่ย้ายมาเข้าเรียน RIS ค่ะเพราะมีรุ่นพี่มาแนะแนว แล้วเราก็รู้สึกอินกับมัน จริงๆแล้วแม่อยากให้เรียนทันตะ แต่หนูไม่ชอบงาน Art เลยขอเรียนหมอดีกว่าค่ะ
- แพน : ผมเพิ่งเริ่มรู้ตัวว่าอยากเรียนหมอเมื่อตอน Grade 11 เองครับ แรกๆอยากเข้า ISE แต่จากการได้ฟังแนะแนวจากรุ่นพี่ เราก็รู้สึกว่าการเป็นหมอคงเหมาะกับเรามากกว่าครับ
เทคนิคการเก็บคะแนน Digital SAT ให้สอบติดรอบ Portfolio แพทย์
หลังจากที่ได้พูดคุยกับน้องๆ บอกเลยว่า น้องหมอแก๊ง RIS ของเราทุกคนมีเคล็ดลับในการเก็บคะแนน SAT Subject Tests ที่คล้ายๆกัน ! โดยเริ่มจากการเตรียมตัวในวิชาที่ถนัดที่สุดก่อน นั้นก็คือ Chemistry นั้นเองครับ เพราะถ้าเริ่มจากวิชาที่ถนัดจะสามารถเก็บคะแนนที่ต้องการได้ไวกว่าและจะมีเวลาเหลือไปเตรียมวิชาอื่นๆ เพิ่มเติม..
สำหรับวิชาที่ยากที่สุดที่น้องๆ ลงมติเป็นเสียงเดียวกันก็คือ Biology เพราะวิชานี้มีเนื้อหาเยอะและเก็งข้อสอบยาก โจทย์ยาวอ่านไม่ทันอาจทำให้รนในห้องสอบด้วย! น้องๆ แก๊ง RIS ฝากบอกว่าตอนเข้าไปสอบทุกคนต้องตั้งสติดีๆ และอย่าลืมฝึกข้อสอบ Past Paper มาเยอะๆ นะครับ
การสอบ SAT Subject Tests 1 ครั้งสอบได้ถึง 3 วิชา..มาดูกันว่าน้องๆแก๊ง RIS มีเทคนิคอย่างไร
- เจนนี่ : หนูเลือกสอบครั้งละ 2 วิชาค่ะ โดยจะเลือก Focus 1 วิชาและเลือกอีกเพียงแค่ 1 วิชาเพื่อให้จำแนวข้อสอบได้ชัวร์ๆ ในครั้งนั้นค่ะ
- แมจิก : ผมเลือกสอบ 1 ครั้ง 3 วิชาเลยครับ แต่ครั้งนั้นๆ จะตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าแต่ละวิชาแต่ต้องคะแนนเท่าไรบ้าง
- แซนดี้ : สำหรับหนูจะเลือกสอบวิชาเคมีและไบโอให้ได้คะแนนที่ต้องการก่อนแล้วค่อยตามเก็บ Math LV.2 เป็นวิชาสุดท้ายค่ะ
- แบมแบม : สอบแต่ละรอบ หนูจะ Focus แค่ 1 วิชาแต่จะไปลองสนามวิชาอื่นๆ ด้วยค่ะ
Timeline การเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์ รอบ Portfolio ของน้องหมอแก๊ง RIS
- เจนนี่ : หนูเริ่มต้น SAT Subject Tests ตอน Grade 11 ค่ะ โดยช่วงนั้นเตรียม SAT อย่างเดียวเลย หลังที่ได้คะแนน SAT ตามต้องการแล้ว ก็ไปสอบ IELTS จากนั้นถึงจะเริ่มเตรียมตัว BMAT ค่ะ เมื่อได้คะแนนครบแล้วจึงจะเริ่มติวสอบสัมภาษณ์ หาคำถาม MMI มาดูคำถามและฝึกตอบค่ะ
- แบมแบม : หนูเริ่มเตรียมตัว Grade 11 เหมือนกันค่ะ กว่าจะเก็บ SAT Subject Tests หมดทุกตัวก็เกือบ Grade 12 สำหรับหนูจะเริ่มติว BMAT จริงจังตอนซัมเมอร์ที่กำลังจะขึ้น Grade 12 หลังจากนั้นจึงเริ่มเตรียม Portfolio มาเรื่อยๆ แต่หนูทำเล่มพอร์ตกระชั้นชิดมากนะคะ ทำตอนสองอาทิตย์ก่อนยื่นเลยค่ะ
- แซนดี้ : หนูเริ่มช้ากว่าคนอื่นเยอะเลยค่ะ ตอนเพื่อนไปสอบกันแล้วเราเพิ่งเริ่มติววิชาเคมีเอง กว่าจะได้สอบก็เดือนธันวาของปีนั้น โดยเริ่มเตรียมพอร์ตพร้อมๆ กับตอนเตรียม SAT Subject Tests แล้วมาอัดกิจกรรมหนักๆตอนซัมเมอร์ค่ะ แต่หนูให้ความสำคัญกับ BMAT มากนะคะ อ่าน BMAT เยอะมากๆ อย่าง Section 2 ติววันละ 6 ชั่วโมงไปเลย
- แมจิก : ผมจะเสียเวลากับ IELTS นิดหน่อยครับ เพราะตอนแรกเราคิดว่าเรียนอินเตอร์มาคงสามารถลุยข้อสอบ IELTS ได้ฉลุยแต่จริงๆ มีส่วนที่ยากอยู่ ก็คือ Part Writing หลังจากสอบครั้งแรก เราก็เลยต้องกลับมาติวส่วนนี้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้คะแนนที่สูงขึ้นครับผม
เคล็ดลับการทำ Portfolio แพทย์ ให้ติดชัวร์จากแก๊งน้องหมอ RIS
มาดูกันว่าน้องหมอแก๊ง RIS วางแผนการทำพอร์ตแพทย์อย่างไรและมีผลงานอะไรเด็ดๆ มานำเสนอบ้าง
- เจนนี่ : หนูเริ่มเตรียมตัวทำพอร์ตเข้าแพทย์ตั้งแต่ Grade 10 ค่ะ เริ่มจากการไปฝึกงานที่โรงพยาบาล ซึ่งการที่เรามาจากโรงเรียนอินเตอร์สามารถเข้าไปฝึกงานในโรงพยาบาลได้ง่ายกว่าเด็กโรงเรียนไทยนะคะ เพราะว่าเราเรียน IB มาก่อนและโรงเรียนให้ข้อมูลที่ช่วยการ Support อย่างเต็มที่ หนูจึงมีทักษะในการทำงานวิจัย แบบ Full Research ซึ่งทำให้พอร์ตของหนูมีความแตกต่างและสามารถเอาไปสู้กับเด็กโรงเรียนไทยที่ไปแข่งงานวิชาการและได้รับเหรียญรางวัลมาเยอะๆ ได้อย่างดีเลยค่ะ
* ตอนช่วงแรกหนูไปทำจิตอาสา เช่น กวาดถนน ทำอาหารแจก ณ ตอนนั้นรู้สึกว่าเราทำเยอะมากค่ะ แต่จริงๆ หนูมาเข้าใจอีกทีว่าเราควรทำกิจกรรมที่แตกต่าง กิจกรรมแนวๆนี้ ใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น ถึงทำไปก็เอาลงพอร์ตไม่ได้อยู่ดี หนูคิดว่าเราควรทำกิจกรรมที่ได้โชว์ความเป็น Teamwork โชว์ความเป็นผู้นำหรือเป็นผลงานที่เกิดจากตัวเรามากกว่าการไปร่วมกิจกรรมกับคนอื่นค่ะ - แบมแบม : หนูมีโอกาสได้ทำชมรมจิตอาสาเยอะ โชคดีที่โรงเรียนมีชมรมและกิจกรรมจิตอาสาอะ เราจึงได้มีโอกาสทำกิจรรมพวกนี้ที่มีคุณภาพอย่างหลากหลายด้วยค่ะ ซึ่งโรงเรียนจะได้ทั้งผลงานด้านการเป็นผู้นำและ Teamwork หนูคิดว่าโรงเรียนให้การสนับสนุนการสร้างผลงานใส่พอร์ตแพทย์ได้ดีมากค่ะ
* จริงๆ หนูไม่ได้ทำกิจกรรมเยอะเลยนะคะ เทียบกับคนอื่นอาจดูน้อยไปด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่หนูให้ความสำคัญคือ Personal statement และการเล่าเรื่องราวผลงานที่ทำไปในพอร์ตให้น่าสนใจค่ะ จริงๆ แล้วที่เราควรโฟกัสก็คือการสร้างพอร์ตเข้าแพทย์ที่น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมเยอะ แต่ทำให้แตกต่างจากคนอื่นๆ ค่ะ - แมจิก : ผมจะเตรียมทำ Portfolio คล้ายๆ เพื่อนเลยครับ ใน Portfolio ของผมใส่เรื่องส่วนตัวเข้าไปด้วย ก็คือเรื่องที่พ่อแม่แยกทางกันเพื่อให้กรรมการเห็นว่าเราสามารถเข้าอกเข้าใจคนในสถานะต่างๆ ได้อย่างดี และเล่าเรื่องความเป็นผู้นำผ่านกีฬาที่ชอบ ซึ่งอยากแนะนำน้องๆ ว่าการทำจิตอาสาเยอะคงไม่ช่วยอะไรมาก แต่สิ่งสำคัญคือพอร์ตที่แตกต่างจากคนอื่น อย่างผมรู้ตัวว่างานวิชาการคงสู้เด็กโรงเรียนไทยไม่ได้ เลยพยายามไปฝึกงานที่โรงพยาบาลและเข้าไปทำ Lab เพื่อให้พอร์ตของเราดูน่าสนใจมากขึ้นครับ
- แซนดี้ : หนูคิดว่าเราควรทำสิ่งที่ชอบ แล้วทำให้มันออกมาโดดเด่นจะดีกว่า อย่างแซนดี้ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เลยไปเข้าร่วมงานกับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งตลอดช่วงซัมเมอร์เลยค่ะ ได้ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนจริงจังเลยค่ะ เช่น ช่วยอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ล้ม หรือ ช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานที่อาการกำเริบในบ้านให้ไปถึงโรงพยาบาลอย่างทันท่วงทีค่ะ แต่ขอฝากน้องๆ ไว้ว่าถ้าจะไปทำมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง อยากให้หาคนรู้จักหรือเพื่อนไปทำด้วยจะดีกว่าไปทำคนเดียวนะคะ
- แพน : Portfolio ของผมแตกต่างจากคนอื่นๆ ที่ยื่นเข้าแพทย์รอบ 1 พอสมควรเลยครับ เพราะเรามีผลงานด้านการสร้างหุ่นยนต์และผมยังมีโอกาสได้ไปแข่งขันสร้างหุ่นยนต์ที่ประเทศไต้หวันมาอีกด้วย ทำให้พอร์ตของผมมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งใน Portfolio ของผมมีกิจกรรมเกี่ยวกับงานด้านวิศวะเกือบ 10 กว่าชิ้นแต่มีผลงานด้านจิตอาสาแค่อย่างเดียวเอง ก็สามารถสอบติดคณะแพทย์รอบ 1 ได้เหมือนกันครับ
- ยูมิ : หนูเริ่มเก็บผลงานใส่ Portfolio ตอน Grade 10-11 เหมือนกันค่ะ โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับทักษะการทำงานวิจัยมากเลย ทำให้ในพอร์ตแพทย์ของหนูมีงานวิจัยที่มีคุณภาพและแตกต่างจากคนอื่นๆ หนูเลยเน้นไปที่การฝึกงานในโรงพยาบาล ได้ทำเคสจริง และการทำแล็ป มากกว่าการทำกิจกรรมจิตอาสาแบบเพื่อนๆ ค่ะ
บรรยากาศการ Interview จากห้องสัมภาษณ์จริงของแพทย์รอบ 1 ปีล่าสุด
บรรยากาศการสัมภาษณ์แพทย์จุฬาฯ รอบ Portfolio ปี 63 จาก น้องเจนนี่
สำหรับการสัมภาษณ์เข้าคณะแพทย์จุฬาฯ หลังจากคัดคะแนนเสร็จ เขาจะไม่ดูคะแนนที่เราได้แล้วค่ะ แต่จะให้ความสำคัญกับบุคลิคภาพมากกว่า เลยอยากให้น้องๆ มีรอยยิ้มอยู่เสมอ ยิ้มสู้เข้าไว้ แม้จะรู้สึกกดดันค่ะ
วันสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 กลุ่มค่ะ ใครมาถึงก่อนจะได้สัมภาษณ์ก่อน หนูว่ารีบไปเช้าๆ ดีกว่า จะได้มีเวลาเตรียมตัว ไม่ตื่นเต้น ห้อง Interview มีทั้งหมด 5 ห้อง ใช้เวลาห้องละ 12 นาที มีเวลา 2 นาทีให้อ่านโจทย์ก่อนและจะมีกระดาษ ดินสอไว้ให้เราโน้ตค่ะ
ห้องที่ 1 กรรมการจะสมมุติเหตุการณ์ให้เราเป็นหมอ ขายกาแฟที่คนเป็นเบาหวานสามารถดื่มได้ ขายใน Facebook แล้วใช้ความเป็นหมอโปรโมทค่ะ ห้องที่ 2 เราจะได้วิเคราะห์งานวิจัยที่ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องตอบเป็นภาษาไทยนะคะ ต่อไปห้องที่ 3 เป็นการ Role-play ในประเด็นของการทำงานเป็นทีม และก็ห้องที่ 4 เกี่ยวกับการตัดสินว่าใครควรโดนประหารชีวิต ซึ่งโจทย์เป็นภาษาไทยและตอบเป็นภาษาไทยนะคะ สุดท้ายห้องที่ 5 เป็นการแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ ชอบอะไร ทำไมถึงอยากเป็นหมอ ทำนองนี้ค่ะ และการสัมภาษณ์วันนั้นมีการทำข้อสอบข้อเขียน Psychological test เป็นภาษาไทย น้องๆ เรียนโรงเรียนอินเตอร์ที่เขียนภาษาไทยไม่คล่อง อาจต้องฝึกเพิ่มเติมนะคะ
สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับน้องๆ โรงเรียนอินเตอร์ วันที่เราไปตรวจร่างกาย วันนั้นมีความสำคัญมากนะคะ เราควรไปดูว่าคนที่สอบติดคณะแพทย์เป็นอย่างไร มีบุคลิกท่าทีแบบไหนกันบ้าง เพราะในอนาคตเราจะได้เรียนร่วมห้องกับเขาแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อนๆ จะมาจากโรงเรียนไทยเกือบหมดเลย การที่เรามาจากสังคมโรงเรียนอินเตอร์อาจต้องปรับตัวพอสมควรค่ะ
บรรยากาศการสัมภาษณ์แพทย์รามา รอบ Portfolio ปี 63 จาก น้องแบมแบม
สำหรับการสัมภาษณ์คณะแพทย์รามา จะมี Psychological Test 77 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที ถือว่าน้อยมากคิดอะไรได้ก็ต้องตอบเลยและมีการเขียน Essay 45 นาที จะให้เราตอบว่าเป้าหมายของเราคืออะไรและให้วาดต้นไม้และวาดผู้หญิง แล้วอธิบายสิ่งที่เราวาดค่ะ
โดยวันสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยให้ใส่ชุดไปรเวท ติดเลขแทนชื่อ ถ้ามีใครถามก็ห้ามบอกชื่อ ห้ามบอกโรงเรียนนะคะ ซึ่งการสัมภาษณ์ของแพทย์รามาจะมีทั้งหมด 27 ห้อง (รวมห้องพัก) หนูคิดว่าการใช้เวลาในการสัมภาษณ์ เป็นอุปสรรคเหมือนกันนะคะ เข้าไปอยู่ในนั้นเกือบครึ่งวันเลย ตอนสัมภาษณ์ห้องท้ายๆ ก็เริ่มจะล้าแล้วค่ะ และสุดท้ายห้ามเอา Portfolio เข้าไปด้วยนะคะ ต้องจำพอร์ตตัวเองให้แม่นเลย
ห้องที่ 1 จะให้เราเล่าเรื่องที่ทำให้รู้สึกตกต่ำที่สุดในชีวิต กรรมการก็จะถามกลับมาว่าเราจัดการกับเรื่องนั้นและเอาตัวเองออกจากจุดนั้นได้อย่างไร ซึ่งอาจมีการกดดันเรา เช่น ถามว่าเรื่องแค่นี้เองก็รู้สึกตกต่ำที่สุดในชีวิตแล้วหรอ ? ห้องที่ 2 เขาจะให้รูปเกี่ยวกับบริบทการเป็นผู้ให้และผู้รับ แล้วให้เราอธิบายความรู้สึกของเรา และประสบการณ์ของเราที่มีต่อทั้งสองบทบาท ต่อไปห้องที่ 3 เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เรารับบทบาทต้องเป็นผู้นำทริปในการวางแผนไปเที่ยวญี่ปุ่นกับเพื่อนร่วมทริปที่ไม่เคยไปญี่ปุ่นมาก่อนเลยค่ะ กรรมการจะพยายามสร้างเหตุการณ์ให้เราแก้ไขเรื่อยๆ เช่น ถ้ามีคนไม่ทำตามแผนที่วางไว้ จะรับมืออย่างไร หรือถ้ามีคนไม่เห็นด้วย จะทำอย่างไร และห้องที่ 4 กรรมการจะถามว่าคิดอย่างไรกับคำว่าอยากเป็นหมอเพราะอยากช่วยคน ? และถ้าเราเป็นแอดมินเพจเกี่ยวกับสุขภาพที่มีผู้ติดตามเยอะมาก แต่เราให้ข้อมูลที่ผิดพลาด และมีคนรับรู้ข้อมูลนั้นเยอะไปแลว เราจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรค่ะ สำหรับห้องที่ 5 เป็นการ Role-play ในเหตุการณ์ที่เราและเพื่อนสนิทไปสอบโอลิมปิค ซึ่งเพื่อนสอบมาสามปีแล้วแต่ยังไม่ผ่านสักที ในขณะที่ครั้งนั้นเราสอบผ่านแล้ว โดยจะมีรุ่นพี่หมอปีสูงๆ มาเล่นบทบาทสมมติกับเราค่ะ
ห้องที่ 6 ให้เล่าเรื่องความล้มเหลวในชีวิตและก้าวผ่านมันมาได้อย่างไร ห้องที่ 7 กรรมการจะถามว่าการเตรียมตัวสอบเข้าแพทย์มันหนักมาก อะไรคือสิ่งที่เราคิดว่าส่งผลดีกับตัวเราเอง และสามารถนำอะไรมาพัฒนาต่อไปหลังจากสอบเข้าคณะแพทย์ได้แล้ว ห้องที่ 8 กรรมการจะนำคำตอบที่เราได้พูดคุยกับเขาในวันรายงานตัว (วันก่อนสัมภาษณ์) มาถามอีกครั้งค่ะ เขาจะถามต่อยอดจากคำตอบของเรา และถามเจาะลึกว่าที่เราพูดหมายถึงอะไร รวมถึงจะมีถามว่าถ้าให้เลือกระหว่างพ่อ-แม่ คุณจะเลือกใคร? ห้องที่ 9 ห้องนี้ถามเกี่ยวกับ Portfolio ถามลึกซึ้งมากๆ นะคะ ตั้งแต่อธิบายผลงานในพอร์ตไปจนถึงรายละเอียดยิบย่อยด้วยค่ะ เช่น ภาษาไทยในพอร์ตของเรามีกี่คำ ห้องที่ 10 กรรมการจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ เพื่อดูว่าเราจะจัดการกับมันอย่างไร สมมุติว่าเพื่อนสนิทของเราตื่นสายจนมาสอบไม่ทัน ทำให้เขาต้องมาเรียนวิชานั้นในช่วงซัมเมอร์ แต่ว่าเพื่อนคนนี้มีแพลนจะไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัวไปแล้ว เลยพยายามขอให้เราที่มีพ่อเป็นหมอ ช่วยเขียนใบรับรองแพทย์ปลอมๆ ให้ ซึ่งถ้าไม่ช่วย เขาก็จะไปทำเองอยู่ดี กรรมการถามด้วยว่าเราเคยให้เพื่อนลอกข้อสอบในชีวิตจริงด้วยหรือเปล่าค่ะ
บรรยากาศการสัมภาษณ์แพทย์จุฬาภรณ์ รอบ Portfolio ปี 63 จาก น้องยูมิ (ตัวแทนแพทย์ PCCMS UCL)
สำหรับการสัมภาษณ์คณะแพทย์จุฬาภรณ์จะมีทั้งหมด 9 ห้อง รวมพัก 2 ห้องค่ะ โดยคำถามก็จะมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยเลย แต่บางห้องเราสามารถขอกรรมการตอบเป็นภาษาอังกฤษได้นะคะ
โดยการสัมภาษณ์ที่คณะแพทย์จุฬาภรณ์จะเน้นวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จะสามารถนำมาสร้าง Project ได้ รวมถึงให้ความสำคัญกับทักษะการทำงานวิจัยที่เป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยอีกด้วยค่ะ ที่นี่จะไม่ได้มีห้องเยอะ และไม่ได้มีสถานการณ์ที่กดดันเกินไปค่ะ
ห้องที่ 1 กรรมการจะถามเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรคในโรงพยาบาล การป้องกันต่างๆ โดยจะเช็คความรู้ในการล้างมือของเราด้วยนะคะว่ารู้ขั้นตอนที่ถูกต้องหรือเปล่า ยังไม่มีความกดดันอะไรมากในห้องนี้ค่ะ ห้องที่ 2 มีจิตแพทย์มาเป็นกรรมการค่ะ ถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเรา เช่น ทำไมเราอยากเป็นหมอ และจะถามต่อจากคำตอบที่ตอบไปเรื่อยๆ ค่ะ ห้องที่ 3 เป็นห้องที่ได้คุยกับคณบดีของมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นห้องที่มีความกดดันสูงเลยค่ะ กรรมการจะถามสลับภาษาไทย-อังกฤษไปมา ซึ่งเราต้องตอบให้คล่องแคล่วในทันทีและเขาจะพยายามเช็คว่าเราทำพอร์ตแพทย์เองหรือเปล่า โดยจะถามว่าใช้เวลาทำพอร์ตนานแค่ไหน ผลงานชิ้นไหนในพอร์ตที่น่าสนใจ และก็ถามเรื่องส่วนตัวเกี่ยวกับครอบครัว และเรื่องทั่วๆ ไปเช่น ทำไมอยากเรียนที่นี่หรือคณะแพทย์จุฬาภรณ์เป็น First Choice หรือไม่
ห้องที่ 4 กรรมการจะให้โจทย์เกี่ยวกับการทำจิตอาสาค่ะ เขาจะให้โจทย์ภาษาไทยมาอ่าน 2 นาที โดยโจทย์จะเกี่ยวกับการสร้าง Project จิตอาสา เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนหลักสี่ค่ะ (สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย) ห้องที่ 5 คือห้องที่เกี่ยวกับงานวิจัยค่ะ เขาจะถามว่าเราอยากทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเราก็ควรมีทักษะในการทำงานวิจัยมาก่อน และเลือกตอบอะไรที่สามารถทำออกมาได้จริงๆ ไม่ต้องพยายามพูดถึงงานวิจัยที่ยิ่งใหญ่เพื่อเอาใจกรรมการนะคะ ห้องที่ 6 เป็นเรื่องราวสมมุติเหตุการณ์มาให้ มีคนไข้คนหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็ง แต่ไม่ยอมเข้ารักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งคนไข้จะไปใช้สมุนไพรแทนค่ะ กรรมการก็จะถามเราว่าควรอย่างไรกับเรื่องนี้ หรือถ้าคนไข้คนนี้เป็นคนใกล้ตัวเช่นแม่ของคุณเอง จะทำอย่างไรดี? ห้องที่ 7 มี Professor จาก UCL (มหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์) มาถามเกี่ยวกับวิธ๊จัดการปัญหาวุ่นวายในโรงพยาบาลค่ะ เช่น ถ้าคนไข้ไม่พอใจ หรือทะเลาะกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เราจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร
บรรยากาศ Mock Interview เข้าคณะแพทย์ ที่ ignite VS บรรยากาศการสัมภาษณ์จริง
- แซนดี้ : หนูมีโอกาสได้เจอพี่ก๊อฟในห้อง Mock ด้วย ซึ่งพี่เขาช่วยบอกจุดแข็ง จุดอ่อนของเรา ด้วยความที่หนูเป็นคนไม่นิ่งเท่าไร พี่ก๊อฟเลยช่วยบอกวิธีการแนะนำตัวให้เราดู Professional มากขึ้นค่ะ
- แมจิก : การมา Mock Interview กับ ignite ช่วยให้ผมรู้ว่าควรรับมือกับคำถามและกรรมการที่กดดันเราอย่างไรให้ และวางตัวให้ดูเป็น Professional อย่างไร ต้องขอขอบคุณ ignite ด้วยครับ
- แพน : ignite จัด Mock interview ได้ดีมากครับ วันที่สัมภาษณ์จริงผมเลยลดความตื่นเต้นไปได้เยอะมากๆ ซึ่งทำให้เราดูไม่รนและมีสติในการสื่อสารกับกรรมการอย่างดีเลยครับ
- แบมแบม : Mock Interview ที่ ignite มีห้อง Role-Play ด้วยค่ะ ซึ่งในห้องนั้นมีพี่กั๊กเล่นเป็นกรรมการ พี่เขาสัมภาษณ์ได้สมจริงมาก ทำให้เราไม่ตื่นเต้นตอนได้เจอสถานการณ์จริงและพี่กั๊กยังช่วยแนะนำด้วยว่า ถ้าเจอสถานการณ์แบบต่างๆ เราควรแก้ไขเหตุการณ์นั้นๆ อย่างไรค่ะ
- เจนนี่ : Mock Interview ที่ ignite สมจริงมากค่ะ ทำให้เราลดความตื่นเต้นตอนไปสัมภาษณ์จริงได้มากเลย รวมถึงเรายังได้คำแนะนำ และวิธีคิดเป็นขั้นตอนกับการรีบมือสถานการณ์ในห้องตอนสัมภาษณ์จริงค่ะ
- ยูมิ : ตอนมา Mock Interview ที่ ignite หนูมีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์กับพี่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นรุ่นพี่แพทย์จุฬาภรณ์ตัวจริง เลยทำให้บรรยากาศการ Mock เหมือนตอนไปสัมภาษณ์จริงมากๆเลยค่ะ
ความประทับใจต่อ ignite จากแก๊งน้องหมอ RIS
- แซนดี้ : ประทับใจที่นอกจากการเรียนการสอน ignite มีทั้งกิจกรรมที่มีประโยชน์ให้ทำ เช่น Mock Exam หรือกิจกรรมประเภท Community Service ค่ะ
- แมจิก : ignite อุดมสมบูรณ์มากครับ ที่นี่ชอบเลี้ยงข้าว เลี้ยงขนม เลี้ยงชานมไข่มุกตลอดเลย ถือว่าเป็นจุดเด่น เลยก็ว่าได้ครับ ^^
- แพน : ผมประทับใจพี่ๆและคุณครูทุกท่านครับ เพราะเขาดูแลเราตลอดเวลาเลย ไม่ใช่แค่ให้คำปรึกษาในห้องเรียน แต่เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นๆเราก็สามารถถามพี่ๆเขาได้ตลอดเลยครับ
- แบมแบม : ชอบความเป็นกันเองของครูที่ ignite นอกจากจะสอนดีแล้ว พี่ๆเขายังเต็มใจช่วยเหลือเราได้ทุกเรื่องเลย สำหรับหนู พี่ๆครูที่ ignite เหมือนเพื่อนสนิทมากกว่าครูอีกนะคะ
- เจนนี่ : นอกจากการเรียนการสอนและเนื้อหาในคอร์สที่มีคุณภาพแล้ว หนูยังชอบที่ ignite มักจะมีข้อมูล insight การเตรียมตัวสอบเข้าแพทย์รอบพอร์ต เตรียมสัมภาษณ์แพทย์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่หาจากไหนไม่ได้ มาให้เราตลอดและให้เยอะมากด้วยค่ะ
- ยูมิ : ignite มีกิจกรรมเยอะมากค่ะ ซึ่งกิจกรรมพวกนี้เข้าถึงง่ายด้วยนะคะ ไม่ต้องคอยตามดูว่ามีงานอะไรเลย เพราะมีแชทกลุ่ม ที่คอยบอกว่าช่วงนี้มีงานอะไรและมีพี่ๆคอยแนะนำว่าเราควรเข้าร่วมกิจกรรมอะไรบ้างค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลการเตรียมตัวสอบติดแพทย์รอบพอร์ต ของน้องหมอแก๊ง RIS เรียกว่าละเอียดมาก !! ตั้งแต่การเลือกสอบ แนะนำแต่ละวิชายากง่าย ไปจนถึง Timeline การสอบแต่ละวิชา ที่พี่ๆ ชี้แจงแบบไม่มีกั๊ก รวมถึงแผนการทำ Portfolio แพทย์ กิจกรรมอะไรที่ควรใส่ กิจกรรมอะไรไม่ควรทำเยอะ แม้แต่บรรยากาศการสัมภาษณ์จริง (MMI) ที่พี่ๆ ทุกคนเล่าจนเห็นภาพกันเลยทีเดียว บอกเลยว่าน้องๆ ที่ได้อ่านบทความนี้คุ้มๆ จริงเลยครับ
สำหรับน้องๆ ที่อยากสร้าง Portfolio แพทย์ให้โดดเด่นกว่าใคร โดนใจกรรมการ พร้อมสอบติดแพทย์รอบ 1 และได้รับกิจกรรมดีๆ จาก ignite แบบพี่ๆ แก๊ง RIS ไม่ว่าจะเด็กโรงเรียนไทยหรือโรงเรียนอินเตอร์ สามารถปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนต่อในคณะแพทย์ รอบ 1 (Portfolio) หรือทุกคณะอินเตอร์ยอดฮิต ได้ทาง Line : @igniteastar หรือโทร 061-2650047, 061-2650507 หรือ คลิกเพิ่มเพื่อนที่ปุ่มด้านล่าง และติดต่อทีม Educational Consultants ของเราได้เลย!