fbpx
logotype

เผยเคล็ดลับ 4 เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IGCSE Chemistry ให้ได้ A*

เผยเคล็ดลับ 4 เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IGCSE Chemistry ให้ได้ A*

โดย ครูนที ignite A* (M.Sc. Physical Chemistry, MU)

4 เทคนิคเตรียมสอบ IGCSE Chemistry ให้ได้ A star - ignite A Star - Bigcover1

         สวัสดีครับ คุณพ่อ คุณแม่ และน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน หลาย ๆ คนคงกำลังเจอปัญหาการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ IGCSE Chemistry ไม่ว่าจะเป็น คะแนนสอบที่ยังไม่น่าพอใจ ไม่เข้าใจในบทเรียน หรือหาเทคนิคทางลัดเพิ่มคะแนนกันอยู่ วันนี้พี่แอดมินได้รับเกียรติจาก พี่นที ดีกรี M.Sc. Physical Chemistry (International Program) จาก Mahidol University และมีประสบการณ์กว่า 5 ปีในการสอน A Level & IGCSE Chemistry จะมาแชร์ 4 เทคนิคการเตรียมความพร้อมสำหรับการ สอบ IGCSE Chemistary จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

4 เทคนิคสอบ IGCSE Chemistry ให้ได้ A star - ครูนที kru Natee -ignite A Star - Bigcover2

1. วาง Timeline การเตรียมตัวสอบให้ดี

         ในการเตรียมตัวสอบ IGCSE “เวลา” เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเลยครับ น้อง ๆ หลายคนมีพื้นฐานดีมาก น่าจะคว้า A* ได้สบาย ๆ เลย แต่อาจจะเริ่มเตรียมตัวช้าไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจจะไม่ทันแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดแบบนั้น น้อง ๆ อาจเริ่มจากการวาง timeline ก่อนเลย ว่าเราต้องทำอะไรในช่วงไหนบ้าง เช่น น้อง Year 11 ส่วนใหญ่ต้องสอบ IGCSE & A Level ช่วง May – June เพราะฉะนั้น น้อง ๆ ต้องเผื่อเวลาในการเตรียมตัวทบทวนเนื้อหาทฤษฎี และการทำ past paper ให้ดี ซึ่งอาจจะวาง timeline ไว้คร่าว ๆ ดังนี้ครับ

  • July – August จะเป็นช่วงจบเทอมและปิดเทอมของโรงเรียนอินเตอร์ ดังนั้นน้องที่กำลังจะขึ้น Year 11 ควรเริ่มวางแผนทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดครับ ซึ่งน้อง ๆ จะมีเวลาทบทวนเนื้อหาประมาน 6 เดือนครับ
  • January – March น้อง ๆ อาจจะเริ่มมองหาคอร์สเรียนสรุปเนื้อหา & เทคนิคการทำ past paper ได้แล้ว เพื่อติวเข้มโค้งสุดท้ายก่อนสอบ
  • March – April ช่วงเวลานี้ควรฝึกทำ past paper ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เห็น pattern คำถาม และลองจับเวลาทำจริงเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ดีที่สุด คอร์สที่เน้นการทำ mock exam ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในช่วงนี้ครับ เพื่อน้อง ๆ จะได้เห็น predicted grade ของตัวเอง และวิเคราะห์ได้ว่าตรงไหนเป็นจุดอ่อนที่เราจะไปเน้นเพื่อเพิ่มคะแนนได้บ้าง

อันนี้เป็นเพียงแค่แผนตัวอย่างนะครับ แต่ละคนก็มีเป้าหมายต่างกัน ดังนั้น การวางแผนและการจัดการเวลา จึงเป็นสิ่งที่พี่อยากจะ remind น้อง ๆ ทุกคนไว้เนิ่น ๆ เลยครับ

2. ศึกษาวิธีการตอบคำถามให้ได้ Full Mark

         น้อง ๆ คงพอทราบกันแล้วนะครับว่า IGCSE Chemistry เป็นการสอบที่จัดขึ้นโดยหลาย exam board ซึ่งในไทยจะมี CIE & Edexcel เป็น 2 exam boards หลัก โครงสร้างของข้อสอบก็จะแตกต่างกัน โดย CIE จะมีทั้งหมด 6 papers แต่เลือกทำจริงแค่ 3 papers เท่านั้น (multiple choice question, theory, and practical) ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่น้องเลือกว่าจะเป็น Core & Extended 

ส่วน Edexcel จะมี 2 papers ได้แก่ Foundation Tier & Higher Tier ซึ่งทั้ง 2 paper จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันบ้าง แต่จะมีทั้งคำถามที่เป็น multiple choice และคำถามที่ต้องเขียนตอบ

         สำหรับข้อสอบแบบอัตนัยหรือเขียนตอบ ที่จะเจอใน paper 3 ถึง 6 ของ CIE หรือเจอในทั้งสอง paper ของ Edexcel ปัญหาที่พี่จะเจอบ่อยกับน้อง ๆ ที่เรียนด้วยกันก็คือ มีน้อง ๆ หลายคนเข้าใจผิดว่าการเขียนเยอะ ๆ อธิบายทฤษฎีให้เต็มหน้ากระดาษจะได้ full mark แต่จริง ๆ แล้ว ข้อสอบ IGCSE ต้องการคำตอบที่ตรงจุด มี keyword สำคัญที่อยู่ใน mark scheme มากกว่าการเขียนคำตอบยาว ๆ ที่ไม่มี keyword เหล่านั้นอยู่เลย สรุปง่าย ๆ คือ เน้นการเขียนตอบให้ตรงประเด็น อธิบายคำตอบให้กระชับก็ได้คะแนนเต็มแล้ว ทำแบบนี้จะช่วยให้น้อง ๆ ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อน้อยลง สามารถเผื่อเวลาไปใช้กับข้ออื่น ๆ ที่อาจจะจำเป็นต้องใช้เวลาเยอะได้ครับ อันนี้เป็นเพียงเทคนิคการตอบคำถามให้ได้ full mark นะครับ แต่สำหรับน้อง ๆ ที่เตรียมตัวสอบเอง สามารถเข้าไปอ่านใน syllabus หรือ specification ของข้อสอบ IGCSE ตามแต่ละ exam board (CIE / Edexcel) ได้เลยครับ ว่ามี assessment objectives อะไรบ้าง หรือง่ายกว่านั้นคือ ลองเข้าไปดู mark scheme (CIE / Edexcel) ที่มีการเผยแพร่ไว้เลยครับ ว่ามีเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อยังไงบ้างครับ

นอกจากนี้ น้อง ๆ อาจลองศึกษา Changes to Syllabus ที่จะเป็นการชี้แจงการปรับแก้เนื้อหาของข้อสอบในแต่ละปีด้วย เพื่อให้รู้ว่าเราต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาส่วนไหนมากขึ้นในปีนั้น ๆ

3. ฝึกทำ Past Paper ให้คุ้นมือและดูแนวทางข้อสอบ

         จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมา พี่มองว่าอย่าใช้เวลาไปกับการทำ revision note มากนัก ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ทำสรุปดี ๆ ให้เราเข้าไปอ่านได้ฟรีเยอะเลย เช่น save my exams (CIE / Edexcel) สิ่งที่พี่อยากให้น้อง ๆ focus มากกว่า คือ การฝึกทำ past paper เยอะ ๆ จะได้เห็น pattern ของโครงสร้างการเขียนโจทย์ รวมถึงคำศัพท์และภาษาที่ใช้ในข้อสอบด้วยครับ พอฝึกทำ past paper บ่อย ๆ น้องก็จะคุ้นชินกับ paper นั้น ๆ ทำให้อ่านโจทย์ได้ไวขึ้น ช่วยลดเวลาการทำโจทย์แต่ละข้อได้อีกด้วย เพราะถึงแม้โจทย์จะเปลี่ยนตัวเลขหรือ keyword สุดท้ายโจทย์ก็จะมาใน pattern เดิม ๆ จนบางทีเรากวาดตามองโจทย์เร็ว ๆ ก็พอจะเดาได้เลยว่าข้อนี้จะถามอะไร และควรตอบแบบไหนครับ

4. ฝึกจับเวลาทำ

         หลังจากน้อง ๆ มีความมั่นใจมากขึ้นในการทำ past paper แล้ว น้อง ๆ ควรเริ่มฝึกบริหารเวลา โดยการจับเวลาจริงในการทำ paper เพราะเวลาที่จำกัด อาจสร้างแรงกดดันทำให้เราทำได้ไม่ดีเท่าตอนที่ไม่จับเวลา ลองจำเวลาทำบ่อย ๆ เราจะได้ไม่ panic เวลาไปเจอความกดดันแบบนี้ในห้องสอบจริง

ทีนี้จะบริหารเวลายังไงให้ทำข้อสอบทันในเวลาที่จำกัด พี่แนะนำว่า ถ้าเจอโจทย์ยาว ๆ ที่มีหลาย paragraph ให้เริ่มจากการอ่านคำถามจริงของโจทย์ข้อนั้นก่อน ซึ่งคำถามจริงมักจะอยู่ใน paragraph สุดท้ายของแต่ละข้อ การทำแบบนี้จะทำให้เรารู้ว่าโจทย์อยากรู้อะไร แล้วค่อยไปหาอ่านข้อมูลที่โจทย์ให้มาข้างบน จะทำให้เราอ่านอย่างมีจุดหมายว่าเราต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้างในการตอบคำถาม เพราะถ้าเราไปไล่อ่านเนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ต้น พอมาอ่านคำถาม เรามักจะต้องย้อนกลับไปอ่านข้างบนอีกทีอยู่ดี ทำให้ใช้เวลานานเกินไป รวมถึงอย่าไปเสียเวลากับข้อที่ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้เราเสียโอกาสในการทำข้ออื่น ๆ ที่ทำได้ไปด้วย ดังนั้น skip ไปก่อนเลยครับ แล้วค่อยกลับมาทำทีหลัง นอกจากนี้ ควรทำ paper ให้เสร็จก่อนเวลาซัก 10 – 15 นาที เพื่อให้มีเวลากลับไปทบทวนคำตอบในข้อที่น้อง ๆ ยังไม่มั่นใจ ที่พี่เคยเจอ คือ มีน้องบางคนที่เคยเรียนกับพี่มาเล่าให้ฟังว่า ตัวเองพลิกข้อสอบข้ามไปหน้านึงเต็ม ๆ ยังไม่ได้ทำในหน้านั้นเลยสักข้อ 55 เลยใช้เวลาช่วง 10-15 นาที สุดท้ายมาทำจนเสร็จทันพอดีครับ

         นอกจากเทคนิคข้างต้นแล้ว การฝึก skills อื่น ๆ ก็ช่วยลดเวลาได้เหมือนกัน เช่น การฝึกใช้เครื่องคิดเลข เพราะจะช่วยลดเวลาการคำนวณในแต่ละข้อ และลดความสะเพร่าจากการกดเครื่องคิดเลขพลาดด้วยครับ รวมถึงการฝึก Number Sense (ความรู้สึกเชิงจำนวน) ซึ่งเป็น sense ในการวิเคราะห์ตัวเลขที่เราได้มาจากเครื่องคิดเลขว่าตัวเลขนั้น ๆ make sense มั้ย เช่น เอาสาร A มา 10 กรัม ผสมกับ สาร B 10 กรัม มวลรวมของ mixture ตอนสุดท้าย ไม่ว่าสาร A กับ สาร B จะ react หรือไม่ react กันก็ตาม มันก็ควรจะรวมกันได้ 20 กรัม ถ้าน้อยหรือมากกว่านี้ คำตอบที่ได้ก็น่าจะไม่ถูกต้องครับ (ยกเว้นในกรณีที่ product เป็นแก๊สแล้วลอยหายออกไปจาก reaction เลย มวลรวมของ mixture ในกรณีนี้ก็ควรจะน้อยกว่า 20 กรัม) ดังนั้น Number Sense จะเพิ่มความมั่นใจให้เราว่าคำตอบของเราน่าจะมีโอกาสเป็นคำตอบที่ถูกต้องครับ

Pathway for IGCSE Programme

Pathway for IGCSE Programme - ignite A Star - Bigcover3

         เป็นยังไงกันบ้างครับกับเทคนิคในการเตรียมตัวสอบ IGCSE Chemistry ที่พี่นทีนำมาฝาก ตอนนี้ทาง Ignite A* ก็มีคอร์สเปิดใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมน้อง ๆ Year 9 – 11 ในการสอบวิชา IGCSE Triple Sciences และ Math โดยพี่นทีจะมาสอนในวิชา IGCSE Chemistry พร้อมกับทีมครูคุณภาพ ดีกรีมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก

ติวเข้ม IGCSE กับทีมครูผู้เชี่ยวชาญ - ignite A*

ติวสอบ prepare igcse กับคอร์สเรียน mini class igcse - ignite A star - Mar 2023

         คอร์สนี้จะเหมาะกับน้อง ๆ ที่เรียนที่โรงเรียนโดยใช้ exam board เป็นทั้ง Edexcel & CIE เลยครับ เนื้อหาแต่ละวิชาสามารถเรียนครบ จบได้ใน 24 ชม. นอกจากนี้ น้อง ๆ ที่สมัครในคอร์สนี้จะได้รับสิทธิพิเศษในการแนะแนวการทำ paper ของแต่ละวิชา พร้อม mock exam ตรงแนวข้อสอบจริง และจับเวลาจริงเพื่อพิชิต A* หากน้อง ๆ หรือผู้ปกครองท่านใดสนใจ สามารถวางแผนการเรียนกับทีม Partner ได้ที่ Line: @igniteastar หรือ คลิก https://bit.ly/3hhgXoD และโทร 061-265-0047 เข้ามาสอบถามได้เลย ทีมงานพร้อมช่วยน้อง ๆ วางแผนการเรียนและตอบทุกข้อสงสัยในการเรียนต่อในหลักสูตรอินเตอร์ ให้น้อง ๆ แบบรายบุคคล

และตอนนี้เรามีกลุ่มพูดคุยการเตรียมตัวสอบหลักสูตรนานาชาติ IGCSE & A-Level Community มาเข้าร่วมแชทกันเลย >>> http://bit.ly/3XzuTNx

Contact information

Telephone number: +66 61-265-0047

Line: @igniteastar (https://bit.ly/3hhgXoD)

Location: MBK tower, 20th Floor, 444, Phayathai Road, Wang Mai, Pathum Wan, Bangkok

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *