หลังการยกเลิกข้อสอบเข้าแพทย์ตัวหลักอย่าง BMAT ไปเมื่อปีที่แล้ว น้องๆ อินเตอร์ ที่อยากเป็นหมอ เข้าแพทย์รอบ 1 รวมถึงผู้ปกครองคงจะสงสัยว่า เส้นทางการเป็นหมอของน้องๆ ในไทย จะไปในทิศทางไหน จะยังยื่นเข้าแพทย์รอบพอร์ตได้ไหม หรือจะมีการใช้ข้อสอบทดแทนตัวไหนบ้าง
วันนี้ ignite A* ได้เชิญพี่กั๊กและพี่เคนจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนแพทย์ และการเรียนอินเตอร์เ มาวิเคราะห์การเข้าแพทย์รอบ Portfolio เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องกับคณะในฝันต่อไป จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลยค่ะ
เส้นทางการเป็นหมอ กับ Admission Requirement สำหรับการเข้าแพทย์รอบ 1
สำหรับ Admission Requirement ยังอยู่ที่เกณฑ์ 5 ขั้นตอนสำหรับการเรียนหมอ ต้องบอกก่อนว่าการยื่นแพทย์รอบ 1 ถูกสร้างขึ้นสำหรับน้องๆ อินเตอร์ หรือคนที่มีความเก่งภาษาอังกฤษ รวมถึงสนใจการวิจัยนวัตกรรม เพราะการยื่นแพทย์รอบพอร์ต ใช้คะแนนภาษาที่สูงไปถึงสูงมาก ได้แก่
1. Grade
ดู GPAX ว่าได้เท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะนับ 4 หรือ 5 เทอมไม่ต่ำกว่าตามแต่ละมหาลัยกำหนด และบางคณะไม่ได้ดูแค่ GPAX แต่กำหนดเกรดรายวิชาด้วยค่ะ เช่น ต้องได้ Phy, Bio, Chem, และ Math เกรด A เท่านั้น ถึงจะสามารถยื่นเข้าได้ โดยบางคณะถ้าได้เกรดรายวิชาและ GPAX ตรงสามารถยื่นได้เลยไม่ต้องสอบ BMAT
2. IELTS
ส่วนใหญ่จะต้องการ IELTS overall 7+ ยกเว้น แพทย์ศิริราช และแพทย์เชียงใหม่ (Med CMU) ที่ต้องใช้คะแนน IELTS overall 8 รวมถึง แพทย์ศิริราช ยังดู SOP นอกจาก Portfolio แพทย์และคะแนน IELTS อีกด้วย
3. Aptitude Test หรือข้อสอบทดแทน BMAT
ยังไม่มีประกาศออกมาแน่นอนว่าใช้ตัวไหนเป็นข้อสอบแทน BMAT (ยกเว้นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์) แต่หลักๆ แล้วมีอัพเดทดังนี้
-จุฬา จะออกข้อสอบของตัวเอง และได้มีประกาศออกมาแล้วว่าเป็นข้อสอบ TBAT หรือ Thai Biomedical Admission Test เริ่มรอบข้อสอบแรก July 2024 ค่าสมัครสอบ 1600 บาท ประกอบด้วยสามวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
-CICM และ SWU-NOTT ใช้ UCAT
ดังนั้นจากการคาดการณ์ของพี่กั๊กแล้ว มหาลัยอื่นๆ น่าจะเป็นไปได้สามทางคือ 1. ใช้ข้อสอบของจุฬา 2. ใช้ UCAT (สำหรับคณะนานาชาติที่รับคนต่างชาติเข้าเรียนด้วย) และ 3. อื่นๆ ยังไม่มีการยืนยัน 100% ค่ะ
4. การทำ Portfolio
บางมหาลัยต้องการให้ยื่น Portfolio แพทย์ แบบรูปเล่ม พร้อม SOP ซึ่งก็คือการอธิบายว่าทำไมถึงอยากเข้ามหาลัยนี้ในคณะนี้ เช่น ไปเข้าร่วม openhouse ศิริราชมาเลยสนใจประเพณีรับน้องข้ามฝาก แต่บางมหาลัยต้องให้ใช้เทมเพลตของมหาลัย หรือไม่มีรูปเล่ม ตรงนี้น้องๆ สามารถค้นหาได้ในแต่ละเว็บของมหาลัย
ส่วน Portfolio หมอ ควรใส่อะไรลงไปบ้าง สามารถดูได้ตามตารางด้านล่างเลยค่ะ
5. MMI
การ Interview ก่อนเข้าคณะแพทย์ ซึ่งแต่ละมหาลัยก็จะมีขั้นตอนแตกต่างกันออกไป ซึ่งการ MMI นี้ทาง ignite A* มีโปรแกรมทดลองสัมภาษณ์แบบสมจริง ซึ่งจะมีการให้ฟีดแบ็ค และคำแนะนำทันทีหลังจบงาน
Timeline การยื่นแพทย์รอบ 1 และการทำคะแนนหลักสูตรอินเตอร์
มาดูที่ Admission Timeline เพื่อดูจังหวะข้อสอบแต่ละตัว โดยส่วนใหญ่มหาลัยประกาศ requirement ในเดือน 10 และการยื่นพอร์ตแพทย์ และ MMI จะทำในเดือน 2 และประกาศในเดือน 2 และวันที่เป๊ะๆ ต้องตามดูของแต่ละมหาลัยอีกที
High School Qualification กับการเข้าแพทย์
มหาลัยจะรับแต่นักเรียนขั้นต่ำม.6 จึงต้องโชว์ทรานสคริป หรือต้องเทียบเท่าม.6 ยื่นหลักสูตรอินเตอร์อย่าง A level, IB, หรือ AP แต่ไม่ใช่วิชาไหนก็ได้จะทดแทนได้ เพราะถ้าต้องการเข้าแพทย์ มหาลัยจะขอวิชาหลักๆ คือ Bio, Chem และจะขอวิชาที่ 3 คือ Math หรือ Physics ก็ได้
แต่บางมหาลัยก็ไม่ต้องเรียน Bio, Chem ถ้าหากโรงเรียนสามารถออกทรานสคริปมาว่าน้องๆ เรียน general science ผ่าน ในระดับที่มหาลัยต้องการ
ทำความรู้จัก Aptitude Test: UCAT คืออะไร ใช้เข้าแพทย์รอบ 1 ได้ยังไงบ้าง
BMAT ยังสามารถใช้ได้ในหลังปี 2024 เพราะมีอายุ 2 ปี คาดการณ์ว่าน่าจะพอใช้ได้ แต่แนะนำให้รอประกาศของแต่ละมหาลัยดีกว่า
University Clinical Aptitude Test (UCAT) หรือข้อสอบวัดความถนัดทางแพทย์ที่ใช้ในการเข้ามหาลัย ข้อสอบตัวนี้ออกมาได้ประมาณ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2006 แต่เพิ่งมาเข้ากระแสในไทย ข้อสอบตัวนี้ต่างจาก BMAT ตรงนี้ UCAT สอบกับคอมพิวเตอร์ จองเวลาสอบด้วยตัวเอง และเข้าไปนั่งทำในศูนย์สอบ ไม่ต้องรอประกาศเวลาสอบเหมือน BMAT ข้อสอบ UCAT มีข้อสอบทดสอบความถนัดล้วนๆ ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงวัดความสามารถทางวิทย์ไม่ได้ จึงต้องการคะแนนเกรดคะแนนวิทย์ในโรงเรียนมาประกอบ
UCAT เป็นคำถามแนว Choice ไม่มีการเขียนเอง และมีการทำคลังข้อสอบ ทำให้มีจำนวนข้อสอบเกินกว่าที่ต้องสอบจริง ดังนั้นทุกครั้งที่สอบ เครื่องก็จะดึงโจทย์ใหม่มา (เช่น สอบ 200 ข้อ จะสร้างไว้ 1000ข้อ แล้วสุ่มดึง 200 ข้อมาให้แต่ละคน) ดังนั้น ทุกคนที่ไปสอบจะไม่มีใครได้ข้อสอบชุดเดียวกันเลย ที่สำคัญเลยคือ UCAT สอบได้แค่ปีละครั้ง ไม่สามารถสอบใหม่ในปีเดียวกันได้ รวมถึงผลสอบออกมาทันทีหลังสอบ ไม่ต้องรอ ทำให้น้องๆ สามารถวางแผนต่อได้ทันทีค่ะ ว่าต้องการลงยื่นแพทย์มหาลัยไหน
ในการลงทะเบียน UCAT จะมีให้กรอกว่าต้องการให้คะแนนสอบส่งไปที่ไหน หลังจากนั้นระบบจะส่งคะแนนไปที่มหาลัยนั้นๆ เลย ซึ่งจะส่งคะแนนในช่วงเดือน 11
ตาราง UCAT ในปี 2024
ข้อสอบแต่ละพาร์ทของ UCAT
แบ่งออกเป็น 5 พาร์ท ซึ่งพี่เคนจิก็ได้ทำการเฉลี่ยเวลาในการทำข้อสอบแต่ละพาร์ทออกมาตามตารางด้านบนค่ะ หลักๆ แล้วจะไม่มีพาร์ทไหน ที่ได้ใช้เวลาเกิน 1 นาทีเลย ถึงแม้จะมีระบบให้มาร์ค ไว้ว่าข้อไหนทีไ่ด้ทำหรือยังไม่ได้ทำ แต่พี่เคนจิแนะนำว่า ให้ไล่ทำทีละข้อ จะดีที่สุด
- Verbal Listening การอ่านจับใจความ มีโจทย์หลักๆ คือ อ่านและสรุป statement จากที่เราอ่าน และอีกแบบคือให้ statement มาเลย และให้เราระบุว่า ถูก ผิด หรือบอกไม่ได้ (คล้าย IELTS แต่ซับซ้อนกว่า) ที่ควรระวังคือมีเวลาจำกัดมาก
- Decision Making ทดสอบความสามารถในการตัดสินใจ โดยโจทย์ให้ข้อมูลซับซ้อนมา แต่ละข้อจะเป็น stand alone หมดเลย เช่น ให้ logic question มา 1 ข้อ และให้ใช้ logic มาตัดสินว่าประโยคไหนถูก หรือผิด
- Quantitative Reasoning ใช้การคำนวนตัวเลข แต่มีเครื่องคิดเลขให้ใช้ของศูนย์สอบ
- Abstract Reasoning ต่อรูป pattern ที่ถูกต้องเข้ากับโจทย์
- Situational Judgement ตัดสินใจจากสถานการณ์ที่เจอในชีวิตประจำวัน หรือเจอในตอนที่เป็นนักศึกษาแพทย์
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสอบ UCAT ข้อสอบที่จะมาทดแทน BMAT ในปี 2024 คลิกที่รูปด้านล่างได้เลย!
เป็นยังไงกันบ้างคะ ignite A* หวังว่าน้องๆ อินเตอร์ทุกคนจะได้รับข้อมูลดีๆ ในการเข้าแพทย์หลังไม่มี BMAT ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการวางแผน ข้อสอบทดแทน และการทำ พอร์ตคณะแพทย์
น้องๆ คนไหน ที่สนใจการสร้าง Portfolio แพทย์ ให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง สะดุดตากรรมการ พร้อมทดลอง MMI กับผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาเราได้เลย ทางทีมงานและ Strategic Advisor ของเราพร้อมช่วยเหลือเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะอยากเข้า Med CICM, Med RAMA, Med CMU, Med SI, Med SWU-NOTT, Med KMITL, Med CU, Med PSCM หรือคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาลัยไหน ก็ติดต่อ ignite A* ได้เลย!
หรือถ้าน้องๆ ยังไม่แน่ใจว่าตนเองเหมาะกับการเข้าคณะแพทย์ไหม ก็สามารถมาปรึกษาพี่ๆ SA ได้ โดยทาง SA จะวางแพลน และวิเคราะห์ว่าน้องเหมาะกับแพทย์คณะไหน รวมถึงค้นหาตัวน้องเองว่าอยากเข้าแพทย์จริงๆ หรือเปล่า ทีม SA จะ personalized แพลนการเข้าแพทย์ และคณะแพทย์ที่น้องน่าจะชอบและเหมาะสมตามผลงานและบุคลิกนิสัย ให้กับน้องๆ แต่ละคน
เช่น ถ้าน้องอยากเข้า แพทย์จุฬา แพทย์รามา ต้องทำพอร์ตแพทย์ออกมาประมาณไหนให้เหมาะกับตัวน้องเองและเหมาะกับมหาลัย ตรงนี้จะทำให้พอร์ตของน้องๆ แต่ละคน มีความแตกต่าง และโดดเด่นในแบบของตัวเองค่ะ