ไหนใครกำลังเตรียมพอร์ตยื่นคณะแพทย์อยู่บ้าง วันนี้พี่ ignite A* มีโอกาสได้พูดคุยกับพี่ปัญณ์ RIS ที่สามารถคว้าฝันเป็นตัวจริงคณะแพทย์ MED SWU-NOTT TCAS67 เลยอยากมาแชร์เทคนิคการทำพอร์ตของพี่ปัญณ์กันสักหน่อย มาดูกันว่าพี่ปัญณ์มีเทคนิคการทำพอร์ตอย่างไร และพี่ปัญณ์ยังฝากกำลังใจมาให้น้องๆ ทุกคนด้วยนะ พร้อมแล้วก็ไปกันเล้ยยยย
พี่ปัญณ์เริ่มเตรียมตัวตอนไหน Grade อะไร?
“ปัณญ์เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ Grade 9 ค่ะ”
พอดีว่าปัณญ์มีโอกาสได้ไป Internship เพื่อค้นหาว่าตัวเองชอบในอาชีพหมอจริงๆ ไหม โดยปัญณ์ได้ไปที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ซึ่งปัณญ์ได้เจออีกมุมนึงที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน คุณหมอแต่ละคนทำงานหนักและต้องทุ่มเทในการรักษาคนไข้ ปัญณ์ก็รู้สึกว่า มันใช่สำหรับเรา ไม่ว่าจะหนักแค่ไหนเราก็พร้อมที่จะเดินไปในเส้นทางนี้ ก็เริ่มเตรียมความพร้อมเข้าคณะแพทย์ตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นมา
เหตุผลที่พี่ปัณญ์ตัดสินใจเลือกรอบ Portfolio
“ปัณญ์รู้สึกว่าการยื่นคณะแพทย์รอบ Portfolio เป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนเรียนอินเตอร์”
แต่เอาจริงๆ แล้ว ปัณญ์ว่าแพทย์รอบพอร์ตเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับทุกๆ คน เพราะการยื่นแพทย์รอบพอร์ต เป็นรอบเดียวที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงตัวตนของเราจริงๆ ผ่าน SOP หรือ Essay รวมไปถึง Portfolio ที่เราส่งไปในแต่ละมหาวิทยาลัย และปัณญ์รู้สึกว่าการเข้าแพทย์รอบพอร์ต เป็น Journey การเข้ามหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างมากๆ เพราะไม่ได้ต้องการเพียงแค่คะแนนสอบ ทำให้เราไม่ต้องเครียด และทุ่มเทกับการเตรียมคะแนนสอบเพียงอย่างเดียว
ส่องเทคนิคการทำพอร์ตสไตล์พี่ปัณญ์ RIS
อันดับแรกปัณญ์อยากให้ทุกๆ คนศึกษา Requirement ให้เข้าใจอย่างชัดเจน แล้วค่อยเริ่มลงมือทำพอร์ตจริงๆ สำหรับปัณญ์เริ่มต้นการทำพอร์ตด้วยการเลือก Template เลือกสีที่ Match กับมหาวิทยาลัย สีที่สบายตา เป็นอย่างแรก แล้วค่อยเริ่มวาง Outline แต่ละส่วนของพอร์ต โดย Base on Requirement ของมหาวิทยาลัย
“สิ่งสำคัญที่ปัณญ์อยากบอกก็คือ การทำพอร์ตยื่นคณะแพทย์ ควรทำอะไรที่เป็นตัวเอง ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอะไรที่ตาม norm เสมอไป อย่างปัณญ์ชอบเต้นบัลเล่ย์มาตั้งแต่เด็ก ปัญก็เลยเลือกทำ Project บัลเล่ย์กับบุคลิกภาพ และ Music and Dance Therapy และด้วยความที่ปัณญ์เป็นคนชอบพูดคุยกับคนอื่นๆ ปัณญ์ก็เลยเลือกทำโปรเจคเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง สำหรับ Innovation ซึ่งเป็นส่วนที่ปัณญ์ไม่ถนัดที่สุด ปัณญ์ก็ใช้การทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาม่า เพราะจะทำให้เรามีแรงบันดาลใจและมีแพชชั่นในการทำมากขึ้น”
พี่ปัณญ์ทำงานวิจัยใส่พอร์ตหรือไม่?
พี่ปัญณ์ทำงานวิจัยเรื่องอะไร?
“ปัญณ์ทำงานวิจัยเรื่องสมุนไพรไทยกับธาลัสซีเมีย”
พอดีว่าตอนที่ปัณญ์ไปฝึกงานที่โรงพยาบาล ปัณญ์มีโอกาสได้รู้จักกับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน ปัณญ์รู้สึกว่าการต่อสู้ของเค้ามันค่อนข้างลำบาก ปัณญ์เลยอยากทำอะไรที่จะเกิดประโยชน์กับคนที่เป็นโรคนี้มากขึ้น ก็เลยลองเขียน Propersal ไปหาอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน เพื่อขอให้อาจารย์มาร่วมเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัย โชคดีมากๆ ที่อาจารย์ตอบรับมาให้คำปรึกษา และหากถามว่าทำไมต้องเลือกสมุนไพร ส่วนนี้ปัณญ์มองว่าเราอยู่ประเทศไทย ก็เลยอยากทำอะไรที่ใกล้ตัว
พี่ปัณญ์ได้อะไรบ้างจากงานวิจัยชิ้นนี้
“รู้จักการวางแผน รู้จักการคิดเป็นขั้นตอน และรู้จักการจัดการเวลา”
เพราะการทำวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากการทำ Lab ในโรงเรียนมากๆ ในโรงเรียนส่วนใหญ่จะมีไกด์ไลน์ให้เราอยู่แล้ว แต่การทำวิจัยข้างนอกเราจะต้องวางแผนทุกอย่างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และยังเป็นการทำงานกับผู้มีประสบการณ์ทางด้านงานวิจัยจริงๆ เราจึงต้องแบ่งเวลาควบคู่กันระหว่างการเรียนในโรงเรียนและการทำวิจัยให้ดี
ขอกำลังใจให้น้องๆ ที่อยากเข้าคณะแพทย์
“ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับ Passion ของเรา แล้ว Journey การเข้ามหาวิทยาลัยของน้องๆ จะไม่เครียดจนเกินไป”
ที่สำคัญพี่อยากให้น้องๆ Work-Life Balance และอย่าลืมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยว่าสไตล์ไหนที่เราชอบแล้วเราจะอยู่กับมันได้ อย่างในมุมของพี่ ที่พี่ตัดสินใจเลือกคณะแพทย์ SWU-NOTT ก็เพราะว่า เป็นคณะแพทย์ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก มีความใกล้ชิดและอบอุ่นจากรุ่นพี่และเพื่อนร่วมคณะ ที่สำคัญ SWU-NOTT เป็นคณะแพทย์หลักสูตรเดียวที่ได้ไปเรียนที่ต่างประเทศ ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่เร็ว ได้สวมชุดสครับแพทย์เร็วกว่าคณะแพทย์อื่นๆ ด้วย